โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา ร่วมกับ สวทน. และ สกอ.จัดอบรมหลักสูตรเตรียมความพร้อมบุคลากรเพื่อรองรับการปฏิบัติงานโครงการ Talent Mobility ปี 2561 | งานสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

มทร.ล้านนา ร่วมกับ สวทน. และ สกอ.จัดอบรมหลักสูตรเตรียมความพร้อมบุคลากรเพื่อรองรับการปฏิบัติงานโครงการ Talent Mobility ปี 2561

เผยแพร่เมื่อ : พุธ 13 มิถุนายน 2561 โดย วิทยา กวีวิทยาภรณ์ จำนวนผู้เข้าชม 5499 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

         วันที่ 13 มิถุนายน 2561 เวลา 08.30 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประพัฒน์ เชื้อไทย รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา  เป็นประธานเปิดการฝึกอบรมโครงการ "ฝึกอบรมหลักสูตรการเตรียมความพร้อมและการพัฒนา บุคลากร เพื่อรองรับการดำเนินโครงการ Talent Mobiloty  Talent Mobility ประจำปีงบประมาณ 2561"  ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สวทน.และสกอ. โดยมี ดร.ภาสวรรธน์ วัชรดำรงค์ศักดิ์ รองอธิการบดีด้านวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์โครงการต่อประธานในพิธี ณ ห้องประชุมศรีนคร โรงแรมคุ้มภูคำ จังหวัดเชียงใหม่ สำหรับโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสนองตอบต่อความจำเป็นในการพัฒนาบุคลากรวิจัยของมหาวิทยาลัย ในการเตรียมความพร้อมให้นักวิจัยไปปฏิบัติงานในสถานประกอบการและเพิ่มขีดความสามารถในการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้ในภาคเอกชน อีกทั้งเพื่อถอดบทเรียนและจัดการความรู้ (Knowledge Management,KM) การทำงานภายใต้โครงการ Talent Mobility ซึ่งลักษณะโครงการดังกล่าวเป็นการฝึกอบรมและจัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างนักวิจัยภายใต้โครงการ Talent Mobility พร้อมทั้งการสรุปประเด็นในภาพรวมร่วมกัน โดยผู้เข้าร่วมโครงการประกอบด้วยคณาจารย์ และนักวิจัย/บุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา  6 พื้นที่ และ 1 วิทยาลัย ตลอดจนนักวิจัย/ บุคลากรสังกัดสถาบันอุดมศึกษาในเขตภาคเหนือตอนบน จำนวน  60 คน  ใช้เวลาดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 13 - 14 มิถุนายน 2561 

 

Talent Mobility คืออะไร?
> คือการส่งเสริมให้อาจารย์และนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากภาคการศึกษา  ไปปฏิบัติงานในภาคอุตสาหกรรมหรือภาคธุรกิจเอกชน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทยให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น เชื่อมโยงการทำงานระหว่างมหาวิทยาลัยและภาคอุตสาหกรรมหรือภาคธุรกิจเอกชน เกิดการแลกเปลี่ยนและสร้างองค์ความรู้ใหม่ระหว่างกัน
ไปทำอะไรบ้าง?
> Talent Mobility  ให้อาจารย์หรือนักวิจัยไปปฏิบัติงานด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี นวัตกรรมและการจัดการในรูปแบบต่างๆ ดังนี้
1. การวิจัยและพัฒนา
2. การแก้ปัญหาเชิงเทคนิคและวิศวกรรม
3. การวิเคราะห์ทดสอบและระบบมาตรฐาน
4. การสร้างและการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม
> โดยระยะเวลาต้องไม่น้อยกว่า 3 เดือน แต่ไม่เกิน 1 ปี (ขอขยายเวลาได้ แต่ไม่เกิน 2 ปี)และให้นับรวมเป็นอายุงานได้
> สิ่งสำคัญคือ จุดมุ่งหมาย นั่นคือ จะต้องไปเพื่อแก้ไขปัญหาและเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตให้กับภาคอุตสาหกรรม พัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยและพัฒนางานวิจัยในระดับที่สูงขึ้น  นำองค์ความรู้ใหม่จากการทำงานมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนและการวิจัยตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัยได้อย่างแท้จริง ไปจนถึงเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ แต่ต้องไม่ขัดกับจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
ประโยชน์ที่ได้รับ
> ต่ออาจารย์หรือนักวิจัย : ได้รับค่าตอบแทน, เห็นความต้องการของตลาด ได้โจทย์วิจัยที่ใช้ได้จริง, ได้ผลงานวิจัย/ผลงานทางวิชาการ, ทรัพย์สินทางปัญญา และยังได้เพิ่มพูนประสบการณ์กับภาคเอกชน ซึ่งอาจารย์สามารถนำนักศึกษาไปร่วมทำวิจัยกับภาคเอกชนได้
> เป็นประโยชน์ต่อต้นสังกัด ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาการเรียนการสอนตรงกับความต้องการของภาคเอกชน งานวิจัยจะไม่ขึ้นหิ้งและยังได้เครือข่ายความร่วมมือเพิ่มขึ้น
> ประโยชน์ต่อภาคเอกชน ได้บุคลากรที่มีคุณภาพมาช่วยทำงานวิจัยและร่วมวิจัยพัฒนา เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และบริการด้วยนวัตกรรม เพิ่มโอกาสเป็นผู้นำในการผลิตสินค้าและบริการใหม่
> ประโยชน์ต่อประเทศชาติ เกิดการขับเคลื่อนประเทศด้วยนวัตกรรม พัฒนากำลังคนให้ตรงกับความต้องการของประเทศ เกิดการจ้างงานด้านการวิจัยและพัฒนาเพิ่มมากขึ้น เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของภาคเอกชน

(ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.facebook.com/notes/tropmedresearch-mahidol-univ)







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา