โลโก้เว็บไซต์ กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU มทร.ล้านนา ได้เข้าร่วมสังเกตุการณ์ การตรวจติดตามผลการดำเนินงานและรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินโครงการรอบ 6 เดือน โครงการ TM รอบที่ 1 ประจำปี 2565 โครงการออกแบบและสร้างเครื่องรีดบรรจุภัณฑ์พริกแกงกึ่งอัตโนมัติสำหรับอุตสาหกรรมขนาดเล็ก โดย นายอภิชาติ ใสงาม หัวหน้าโครงการ ร่วมกับ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เชียงใหม่ ลานนา ฟู้ด ต.หนองแหย่ง อำเภอสันทราย จ.เชียงใหม่ | งานสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU มทร.ล้านนา ได้เข้าร่วมสังเกตุการณ์ การตรวจติดตามผลการดำเนินงานและรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินโครงการรอบ 6 เดือน โครงการ TM รอบที่ 1 ประจำปี 2565 โครงการออกแบบและสร้างเครื่องรีดบรรจุภัณฑ์พริกแกงกึ่งอัตโนมัติสำหรับอุตสาหกรรมขนาดเล็ก โดย นายอภิชาติ ใสงาม หัวหน้าโครงการ ร่วมกับ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เชียงใหม่ ลานนา ฟู้ด ต.หนองแหย่ง อำเภอสันทราย จ.เชียงใหม่

เผยแพร่เมื่อ : พุธ 1 มีนาคม 2566 โดย Natthida Wongpaeng จำนวนผู้เข้าชม 5046 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2566 กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU มทร.ล้านนา นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ว่าที่ร้อยโทสุรพิน พรมแดน พร้อมคณะ ได้เข้าร่วมสังเกตุการณ์ ร่วมกับคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ อาจารย์วรสันติ์ โสภณ รองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, รองศาสตราจารย์วรพงค์ บุญช่วยแทน ผู้อำนวยการสำนักการจัดการนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี มทร.ศรีวิชัย, นางสาวปอชญา ชุมสุวรรณ และ นางสาวกุลจิรา ทองบุญ นักวิเคราะห์ความร่วมมืออุตสาหกรรม อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ในการตรวจติดตามผลการดำเนินงานโครงการ Talent Mobility ภายใต้โครงการการเคลื่อนย้ายบุคลากรเพื่อพัฒนาศักยภาพการวิจัยในภาคอุตสาหกรรม (Talent Mobility)ประจำปีงบประมาณ 2565 รอบที่ 1 และส่งมอบผลผลิตของการดำเนินงาน โครงการ Talent Mobility รอบ 6 เดือน "โครงการออกแบบและสร้างเครื่องรีดบรรจุภัณฑ์พริกแกงกึ่งอัตโนมัติสำหรับอุตสาหกรรมขนาดเล็ก" โดย นายอภิชาติ ใสงาม หัวหน้าโครงการ ร่วมกับ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เชียงใหม่ ลานนา ฟู้ด ต.หนองแหย่ง อำเภอสันทราย จ.เชียงใหม่
 
ทั้งนี้ นายอภิชาติ ใสงาม หัวหน้าโครงการ ได้รายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดตามบันทึกข้อตกลง และรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงาน ทั้งนี้เนื่องจากกระบวนการผลิตการรีดบรรุภัณฑ์ของสถานประกอบการนั้น ยังดำเนินการโดยใช้แรงงานคนควบคู่กับอุปกรณ์ไม้นวดแป้งขนม ดังนั้นเมื่อมีปริมาณคำสั่งซื้อและจำนวนการผลิตที่มาก จึงทำให้พนักงานเกิดความเหนื่อยล้าและปวดกล้ามเนื้อเป็นอย่างมาก เมื่อต้องทำการรีดบรรจุภัณฑ์เป็นเวลานาน ส่งผลให้อัตราการผลิตไม่สามารถตอบโจทย์จำนวนการสั่งซื้อได้ หัวหน้าโครงการจึงมีแนวคิดในการสร้างเครื่องรีดบรรจุภัณฑ์พริกแกงกึ่งอัติโนมัติให้แก่สถานประกอบการ เพื่อแก้ไขโจทย์ปัญหาแรงงานของสถานประกอบการ และเพื่อช่วยในการลดแรงงานคน  และเพื่อเพิ่มความสามารถในกระบวนการผลิตให้แก่ทางสถานประกอบการ พร้อมทั้งสาธิตการรีดบรรจุภัณฑ์พริกแกงจากเครื่องรีดกึ่งอัตโนมัติที่ได้ออกแบบอีกด้วย

ทั้งนี้ นางสาวอัมทิกา แสงพระเวส หุ้นส่วนผู้จัดการ ยังได้แนะนำผลิตภัณฑ์จากสถานประกอบการ ที่จัดจำหน่ายและผลิตน้ำพริกแกงสำเร็จรูปทางภาคเหนือ และสมุนไพรอบแห้ง มาตรฐานส่งออก อีกทั้งพาเยี่ยมชมสถานประกอบการ (Site visit) โดยสถานประกอบการจะมีกระบวนการผลิตหลักๆ 3 กระบวนการ คือ กระบวนการผลิต กระบวนการบรรจุ และการขนส่งสินค้า ทั้งนี้พริกแกงที่ผลิตได้รับมาตรฐานรับรอง และมีรถชาติอร่อย และมีเอกลักษณ์ สูตรของทางร้านโดยเฉพาะ โดยมีการจัดจำหน่วยตามห้างสรรพสินค้า เพื่อการบริโภคภายในประเทศและมีการส่งออกควบคู่กัน ในชื่อเเบรนด์สินค้า"น้ำพริกแกง ตราแม่อำพร"







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา