โลโก้เว็บไซต์ นักศึกษา มทร.ล้านนา ชนะเลิศการแข่งขันทักษะการควบคุมหุ่นยนต์ Collaborative Robot  ชิงแชมป์ประเทศไทย ครองถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ กรมสมเด็จพระเทพฯ  | งานสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

นักศึกษา มทร.ล้านนา ชนะเลิศการแข่งขันทักษะการควบคุมหุ่นยนต์ Collaborative Robot ชิงแชมป์ประเทศไทย ครองถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ กรมสมเด็จพระเทพฯ

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 8 กรกฎาคม 2567 โดย อภิญญา พูลทรัพย์ จำนวนผู้เข้าชม 1637 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

          นักศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้แก่ ทีม ล้านนาออโตเจนซิกซ์ (LannaAutoGen6)   สมาชิกประกอบด้วยนายไพศาล กันทะคำ นายวรวิช นามบ้านปง  นายอนวัช คำดา นักศึกษาสาขาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบควบคุมอัตโนมัติ ชั้นปีที่3 และทีม อาร์เอ็มโรบอท (RM Robot) สมาชิกประกอบด้วย นายคิมหันต์ แพงไธสงค์  นายสหัสวรรษ พิทยารักษ์ นายนาย อรรณพ สุริยะ นักศึกษาสาขาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (ต่อเนื่อง) เข้าร่วมการแข่งขันทักษะการควบคุมหุ่นยนต์ Collaborative Robot ชิงแชมป์ประเทศไทย ประจำปี 2567 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระหว่างวันที่ 4-5 กรกฎาคม 2567 ณ ห้องประชุมนวราชมงคล อาคาร 50 ปี เทคนิคไทย-เยอรมัน ขอนแก่น มทร.อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น จัดการแข่งขันโดย มทร.อีสาน ร่วมกับ บริษัท ยูเอสอี.โฟล-ไลน์ จำกัด และ บริษัท เอบีบี ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด

           ซึ่งผลการแข่งขันปรากฏว่า ทีมล้านนาออโตเจนซิกซ์ (LannaAutoGen6)  คว้ารางวัลชนะเลิศ ครองถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินรางวัล 50,000 บาท และทีม อาร์เอ็มโรบอท (RM Robot) คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1รับเงินรางวัล 35,000 บาท อีกด้วย จากทีมเข้าร่วมแข่งขันทั้งสิ้น จำนวน 40 ทีม

          การแข่งขันทักษะการควบคุมหุ่นยนต์ Collaborative Robot ชิงแชมป์ประเทศไทย ประจำปี 2567 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมในด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ รวมถึงการสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนและนักพัฒนาในการต่อยอดความรู้และความสามารถเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริง นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสที่ดีในการเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างนักพัฒนา นักศึกษา และองค์กรต่างๆ ในวงการเทคโนโลยี ผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วยมหาวิทยาลัยฯ ต่าง ๆ ภาครัฐ หน่วยงานเอกชน และสถานประกอบการ

 

ขอบคุณข้อมูล/ภาพ จาก อาจารย์จักรรินทร์ ถิ่นนคร และเวบไซต์  https://rmuti.ac.th/  มทร.อีสาน 

 

 

 







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา